รู้หรือไม่…คนไทยใช้เวลากว่า 41 ชั่วโมงต่อเดือนบน YouTube และ TikTok ในการเข้าไปพิมพ์ค้นหาสิ่งที่ตนเองสนใจ เช่น หาความรู้ ดูความบันเทิง หรือเติมแรงบันดาลใจ จากพฤติกรรมเหล่านี้ทำให้สื่อโฆษณาเกิดการแข่งขันที่สูงขึ้นกว่าเดิม ทำให้ทั้งธุรกิจ นักการตลาด หรือแม้แต่ Content Creator ต้องปรับตัวให้ทัน ซึ่งการทำ SEO บนแพลตฟอร์มวิดีโอ ถือเป็นอีกหนึ่งเทคนิคที่จะช่วยดึงดูดผู้ชมและดัน วิดีโอของเราไปหน้าแรกของ YouTube
บทความนี้ Metier Thailand จะพาคุณไปดูแนวทางการทำ SEO YouTube ที่จะทำให้คอนเทนต์ตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมาย สร้างโอกาสใหม่ให้แบรนด์ ไปจนถึงทำให้วิดีโอขึ้นแนะนำบนหน้าแรกของ YouTube
การทำ SEO บน YouTube คืออะไร
การทำ YouTube SEO คือ กลยุทธ์ในการปรับแต่งเนื้อหาและองค์ประกอบของวิดีโอให้มีประสิทธิภาพตรงตามการตรวจสอบของ YouTube Algorithm เพื่อเพิ่มโอกาสการแนะนำวิดีโอให้ปรากฏขึ้นเป็นอันดับแรก ๆ บนหน้า Search พร้อมกับสร้างการรับรู้และการเข้าถึงผู้ชมได้มากขึ้น
การทำ SEO ที่ดีใน Long Video และ Shorts Video จะช่วยเพิ่ม CTR (Click-Through Rate), Engagement, ยอด Views, และ Watch Time เพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ตรงจุดและกระตุ้นให้มีส่วนร่วม ซึ่งสามารถทำตาม 4 ขั้นตอน ต่อไปนี้
1. ค้นหาสิ่งที่คนกำลังให้ความสนใจด้วย Keyword Research
ก่อนที่จะเริ่มทำวิดีโอ เราควรจะวิเคราะห์ความต้องการของผู้ใช้งาน YouTube ว่าเขาสนใจอะไร เพื่อให้เรารู้ว่าจะคิดไอเดียสร้างคอนเทนต์แบบไหนที่ตอบโจทย์ผู้ชม โดยการเลือก Keyword ที่จะเอาไปทำ SEO ใน YouTube ควรเป็นคำที่เกี่ยวข้องกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย สามารถหาได้จากแถบ Search ของ YouTube เพื่อดูว่าผู้คนกำลังสนใจเรื่องใด คู่แข่งของเราใช้ Keyword แบบไหน นอกจากนี้ยังมีเครื่องมือวิเคราะห์เทรนด์อย่าง Google Trend, TubeBuddy, และ VidIQ
ซึ่ง Keyword หรือ SEO Keyword มีหลายประเภท ทั้งแบบคำสั้น ๆ ที่มีการแข่งขันสูงเนื่องจากคนใช้เยอะ แต่บทความนี้เราอยากแนะนำ Long-tail keyword ซึ่งเป็นประโยคที่มีความเฉพาะเจาะจงมี 3 คำขึ้นไป สามารถเจาะกลุ่มเป้าหมายได้แม่นยำกว่า เช่น แทนที่จะใช้ “วิ่งออกกำลัง” อาจจะเปลี่ยนเป็น Long-tail keyword “ประโยชน์ของการวิ่งออกกำลังตอนเช้า” ซึ่งเป็นประโยคที่มีความเฉพาะเจาะจงมากขึ้น
2. ปรับแต่งเนื้อหาที่ตรงกับความสนใจของ Target
ระยะเวลาในการชมวิดีโอ (Watch Time) เป็นอีกปัจจัยที่มีผลต่อการจัดอันดับวิดีโอ ดังนั้นการมีเนื้อหาที่น่าสนใจและถูกใจผู้ชม สิ่งเหล่านี้จะช่วยเพิ่ม Engagement ให้กับวิดีโอ โดยเริ่มจาก วางโครงคอนเทนต์ การถ่ายทำ และมีเนื้อหาที่ตอบโจทย์การค้นหาของผู้ชม (Search Intent) เช่น ถ้ากลุ่มเป้าหมายต้องการอัปเดตข้อมูลเรื่องการวิ่งตอนเช้าดีต่อสุขภาพ วิดีโอควรมีเนื้อหาเกี่ยวกับการวิ่งตอนเช้ามากกว่า 70% และต้องมี Keyword กระจายในโครงสร้างของวิดีโอ ดังนี้
- Intro : เปิดเรื่องนำเสนอข้อมูลหรือปัญหาเพื่อดึงความสนใจให้ได้ภายใน 15 วิแรก เช่น “ทุกคนน่าจะเคยคิดที่จะลองไปวิ่งตอนเช้าแต่…” หรือ “วันนี้เรามีอะไรดี ๆ เกี่ยวกับการวิ่งตอนเช้ามาบอก…”
- Body : ส่วนของเนื้อหาที่เป็นคำตอบในสิ่งที่ผู้ชมกำลังมองหา เพื่อให้พวกเขาได้ตามดูจนจบ เช่น เล่าถึงข้อมูลของการวิ่งตอนเช้าอย่างละเอียด รีวิวก่อนวิ่ง หลังวิ่ง หรือ ทำคลิปเล่าประสบการณ์ที่ได้ลองตื่นมาวิ่งครบ 7 วันหรือ 1 เดือน เป็นต้น
- Ending : ส่วนที่สรุปเนื้อหาทั้งหมดให้เข้าใจง่ายขึ้น เป็นช่วงที่กระตุ้นให้เกิดการมีส่วนร่วมแบบ CTA (Call to Action) เช่น ถ้าชอบคลิปนี้อย่าลืมกด Subscribe กดติดตาม กดคลิกดูคลิปอื่นของเราต่อ หรือไปจนถึง Comment แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับคอนเทนต์
ส่วนที่เหลือขึ้นอยู่กับการถ่ายทำและตัดต่อที่จะช่วยเพิ่มคุณภาพ เพิ่มระยะเวลาการรับชม และการมีส่วนร่วมของผู้ชม
3. เช็กองค์ประกอบ ใส่ SEO Keyword ก่อนอัปโหลดวิดีโอ
หลังจากที่เลือก Keyword วางโครงสร้าง ถ่ายทำ และตัดต่อวิดีโอ สำเร็จเป็นที่เรียบร้อย แต่ก่อนที่จะกด “อัปโหลด” วิดีโอควรเช็กและปรับรายละเอียดองค์ประกอบต่าง ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำ SEO ใน YouTube ดังนี้
Title
เช็กชื่อคลิป ควรมีความยาวไม่เกิน 60 - 70 ตัวอักษร และมี SEO Keyword ที่เลือกมาอยู่ในชื่อคลิป เพื่อให้ระบบช่วยแนะนำและจัดอันดับ นอกจากนี้การใช้คำจำพวก ใหม่, ง่าย, ภายใน X นาที, หรือชื่อคลิปที่เป็นการตั้งคำถาม ช่วยกระตุ้นและสร้างความน่าสนใจให้กับวิดีโอ เช่น “ทำไมวิ่งตอนเช้า ถึงทำให้ผิวดูมีออร่า?”
Description
เช็กคำอธิบายใต้คลิปและใส่ Keyword ที่เกี่ยวข้องในการทำ SEO เข้าไปใน 2-3 บรรทัดแรก ไม่ควรมี Keyword มากไปหรือซ้ำซ้อน เพื่อความเป็นธรรมชาติ อ่านง่าย ไม่เช่นนั้นระบบอาจคิดว่าคุณกำลัง Spam เนื้อหา
Tags
เช็กการใส่ Tags ที่เกี่ยวข้อง จะช่วยให้วิดีโอปรากฏไปยังการค้นหาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องและเพิ่มโอกาสให้คนเห็นวิดีโอมากขึ้น เช่น ออกกำลัง, ลดน้ำหนัก, วิ่งไหนดี ซึ่งสามารถค้นหา Tags ได้จาก ใช้คำที่เกี่ยวกับเนื้อหาในวิดีโอมาใช้เป็น Tag หรือหาจากเครื่องมือ เช่น Rapidtags, YTube Tool, Keyword key, VidlQ เป็นต้น
Thumbnail
Thumbnail หรือหน้าปกวิดีโอเป็นสิ่งแรกที่คนจะเห็น จึงควรใช้ภาพที่ดึงดูดความสนใจ อาจใช้ภาพคนที่แสดงสีหน้าท่าทางหรืออารมณ์ เช่น ตกใจ สงสัย มีความสุข หรือเป็นภาพที่มีสีสันสดใส ตัวหนังสือใหญ่อ่านง่ายและควรมี Keyword อยู่ในภาพเพื่อให้ YouTube Algorithm ช่วยในการค้นหา
4. YouTube Short มาแรง
ในยุคที่วิดีโอสั้นเป็นที่นิยมอย่างมาก การทำ SEO สำหรับ YouTube Shorts นั้นจะช่วยทำให้คอนเทนต์โดดเด่นและสามารถเข้าถึงผู้ชมได้ง่ายยิ่งกว่าเดิม ซึ่งมีเคล็ดลับที่ทำให้ Shorts ให้เข้ากับการทำ SEO ดังนี้
- นำ Keyword ที่เลือกมาให้เป็น # ใน Title ของคลิป YouTube ยังแนะนำให้ใส่ #shorts เพื่อเพิ่มโอกาสการแนะนำวิดีโอให้กับผู้ใช้ YouTube
- มีการพูดถึง Keyword ในวิดีโออย่างน้อย 1-2 ครั้ง เพื่อให้ระบบเข้าใจเนื้อหาของวิดีโอได้มีประสิทธิภาพ
- ใส่ Keyword ใน Caption บนวิดีโอ ตรวจสอบให้มั่นใจว่า Caption หรือคำบรรยายมี Keyword อยู่เพื่อให้ผู้ชมได้เข้าใจเนื้อหาได้
- เพิ่ม Keyword ใน Description ของ Shorts video ซึ่งส่วนนี้หลายคนไม่รู้ว่าจำเป็นต้องใส่ เป็นคำอธิบายสั้น ๆ มี Keyword ที่เกี่ยวข้องรวมอยู่ เพื่อให้ YouTube เข้าใจเนื้อหาและช่วยดันวิดีโอปรากฏบนหน้า Search ง่ายขึ้น
Tips & Trick พาอัปอันดับใน YouTube
หลังจากที่รู้เบสิกของการทำ SEO ในวิดีโอไม่ว่าจะยาวหรือสั้นบน YouTube แล้ว เราขอแชร์ทริกที่ Content Creator หลายคนใช้เพื่อเพิ่มโอกาสในการติดอันดับที่เร็วขึ้น
Closed Caption
คำบรรยายใต้วิดีโอ (Closed Caption : CC) ช่วยให้ผู้ชมเข้าใจเนื้อหาได้ง่ายขึ้น แม้จะไม่สามารถได้ยินหรือเข้าใจภาษา ซึ่ง YouTube มีระบบ AI ที่ช่วยแกะคำจากในวิดีโอทำให้เราประหยัดเวลาสำหรับคนที่ไม่อยากพิมพ์ประโยคเองทั้งหมด ฟังก์ชันนี้ยังช่วยเพิ่ม Watch Time และขยายกลุ่มเป้าหมายใหม่ในระดับสากล นอกจากนี้ ยังมีผลต่อการทำ SEO เพื่อให้ YouTube เข้าใจคอนเทนต์วิดีโอได้ดียิ่งขึ้นและเพิ่มโอกาสในการจัดอันดับวิดีโอ
Add Card
Add Card คือ ฟังก์ชันการ์ดข้อมูลเล็ก ๆ ที่โผล่ขึ้นมุมบนขวาของวิดีโอ สิ่งนี้จะช่วยแนะนำคอนเทนต์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็น วิดีโอ เพลย์ลิสต์ หรือลิงก์ทุกรูปแบบก็ได้ รวมถึงโปรโมตสินค้า/บริการผ่านลิงก์เพื่อสร้าง Conversion เปลี่ยนผู้ชมเป็นลูกค้าได้เช่นกัน
End Screen
เป็นฟังก์ชันที่อยู่ในช่วงประมาณ 5 - 20 วิก่อนจบคลิป การเพิ่ม End Screen ไปในคลิปถือเป็นโอกาสทองที่จะทำให้ผู้ชมนั้นกดไปดูคอนเทนต์ใหม่ล่าสุดหรือคอนเทนต์ที่เกี่ยวข้อง อีกทั้ง End Screen ยังสามารถเพิ่มปุ่มกด Subscribe เพื่อดึงผู้ชมไปติดตามต่อ
7 ข้อควรระวังของการทำ SEO ใน YouTube
เป็นเรื่องที่ดีหากการทำ SEO ช่วยเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย เพิ่มการมองเห็น แต่ถ้าเราใช้ SEO ไม่ถูกต้องหรือผิดรูปแบบ อาจส่งผลให้วิดีโอของเราถูกลดอันดับหรือโดนปิดการมองเห็น ดังนั้นข้อควรระวังของการทำ SEO ใน YouTube ที่ควรรู้มีดังนี้
1. ใช้ Keyword ที่มากเกินไป
ระวังเรื่องการใส่ Keyword ที่มากเกิน (Keyword Stuffing) ไปใน Title และ Description จะทำให้ผู้ชมรู้สึกว่าคอนเทนต์นั้นไม่มีคุณภาพ ดูไม่เป็นธรรมชาติ อีกทั้งระบบอาจมองว่าเป็นการสแปม ทำให้ลดการมองเห็นวิดีโอ ตัวอย่างเช่น
✅ ควรทำ
Title : วิ่งตอนเช้าดียังไง? เทคนิคเพิ่มพลัง ลดไขมันส่วนเกิน
Description : ออกไปเริ่มตื่นเช้าวันใหม่ให้สดใสได้สุขภาพที่ดีด้วยการวิ่งตอนเช้า เทคนิคที่ช่วยให้ร่างกายเผาผลาญพลังงาน พร้อมเคล็ดลับที่ช่วยเพิ่มพลังบวกให้กับสุขภาพร่างกายและจิตใจ คลิปนี้มีคำตอบ!
🚫 ไม่ควรทำ
Title : วิ่งตอนเช้า วิ่งสวนสาธารณะ | เริ่มต้นวิ่งกี่นาทีถึงจะมีสุขภาพดี วิ่งคาร์ดิโอ | วิ่งตอนเช้าลดน้ำหนัก
Description : วิ่งตอนเช้าเป็นสิ่งที่ดี ถ้าคุณเริ่มต้นออกไปวิ่งที่สวนสาธารณะ วิ่งชมธรรมชาติไปด้วยวิ่งเบิร์นไขมันไปด้วย ถ้าอยากรู้ว่าควรวิ่งตอนเช้าอย่างไรต้องดู
2. Description ที่ไม่มีรายละเอียด
ระวังเรื่องคำอธิบายของวิดีโอที่สั้นเกินไปหรือไม่ได้ใส่ Keyword ซึ่งอาจส่งผลให้ YouTube ไม่เข้าใจเนื้อหาของการทำ SEO ในวิดีโอได้อย่างครบถ้วน ทำให้เมื่อมีคนค้นหาวิดีโอ YouTube อาจจะไม่แนะนำวิดีโอของเรา จนกระทบไปถึงการจัดอันดับวิดีโอ
3. Thumbnail ไม่ดึงดูดหรือไม่เหมาะสม
ระวังเรื่องการออกแบบภาพหน้าปกคลิปที่ไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาและไม่ดึงดูด เช่น มีแต่ตัวอักษรเต็มไปหมด ขนาดเล็กใหญ่อ่านยากจนลายตา อาจทำให้ผู้ชมไม่กดคลิกเข้ามาดู ดังนั้นปกคลิปควรมีข้อความสั้น ๆ เล่าไปพร้อมกับภาพปก
4. ละเลยคอมเมนต์ผู้ชม ไม่สร้างความสัมพันธ์
การที่ไม่โต้ตอบ Comments จากผู้ชม อาจทำให้ Engagement ของช่องลดต่ำลงจนส่งผลต่อการจัดอันดับวิดีโอใน YouTube เนื้อหาในคลิปควรมี CTA กระตุ้นให้เกิด Engagement สร้างโอกาสให้ผู้ชมได้แสดงความคิดเห็นหรือมีส่วนร่วม เช่น เพื่อน ๆ คิดเห็นยังไงกับวิดีโอนี้ มาคุยกันได้ในคอมเมนต์เลยคับเป็นต้น
5. การโพสต์วิดีโอที่ไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาของช่อง
ระวังเรื่องการโพสต์วิดีโอที่ไม่เกี่ยวข้องกับธีมของช่อง เนื่องจากอาจทำให้ผู้ชมหรือผู้ติดตามสับสนและลดความสนใจเนื้อหาของช่องได้ และการที่ช่องไม่มีความสม่ำเสมอในการลงคอนเทนต์ อาจทำให้ผู้ชมเลิกติดตามและไม่คาดหวังอะไรกับช่อง
6. ใช้ Tags ที่ไม่เกี่ยวข้องหรือมากเกินไป
การใส่ Tags ที่ไม่เกี่ยวข้องหรือใส่เยอะเกินไป อาจทำให้ YouTube มองว่าเป็นการสแปมและทำการลงโทษโดยการลดอันดับวิดีโอ ดังนั้นควรใช้ Tag ประมาณ 5 - 10 Tags ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาในคลิปจริง ๆ
7. ติดตามวิเคราะห์ผลลัพธ์ของวิดีโอจาก YouTube Analytics
การเช็กผลตอบรับของคอนเทนต์วิดีโอเป็นการดูว่าการทำ SEO ใน YouTube ได้ผลลัพธ์ในทิศทางใด โดยตรวจสอบจาก Watch Time, CTR และยอด Engagement การวิเคราะห์ข้อมูลจาก YouTube Analytics ทำให้เราทราบว่าผู้ชมชอบคอนเทนต์แบบไหน เพื่อนำไปปรับปรุงเนื้อหาให้ตอบโจทย์ผู้ชมได้ดียิ่งขึ้น
“การทำ SEO ใน YouTube ที่ดีต้องใส่ใจทุกรายละเอียดและกลยุทธ์ที่ดีจะพาคุณไปเจอผลลัพธ์ที่ยอดเยี่ยม”
สรุป
การทำ SEO ใน YouTube นับว่าเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งที่ช่วยให้วิดีโอถูกค้นหาเจอได้ง่ายขึ้น เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีโอกาสติดอันดับที่สูงขึ้นตั้งแต่การวิเคราะห์เพื่อคัดเลือก Keyword ปรับแต่งเนื้อหาให้มีคุณภาพและน่าสนใจ ไปจนถึงการสร้างความสัมพันธ์กับผู้ชมรูปแบบต่าง ๆ ล้วนเป็นปัจจัยที่จะทำให้คุณประสบความสำเร็จไม่ไกลเกินเอื้อม
แต่ถ้าคุณกำลังมองหาคนที่ช่วยปรับแต่งและสร้างสรรค์คอนเทนต์ พร้อมดันอันดับวิดีโอใน YouTube ด้วยการทำ SEO ที่ Metier Thailand เราพร้อมที่จะพาให้คุณเติบโตไปอีกขั้น ด้วยบริการในแพ็กเกจทำ SEO และ Video Production ที่ตอบโจทย์ทุกเทรนด์กระแส ติดตามไอเดียและข่าวสารใหม่ ๆ พูดคุยกับเราได้ที่ Facebook Metier Thailand หรืออีเมล info@metierthailand.com หรือที่ลิงก์นี้ https://metierthailand.com/th/contact-us
แหล่งอ้างอิง
- https://backlinko.com/youtube-keyword-tools
- https://tuberanker.com/blog/how-to-see-what-tags-a-youtube-video-has
- https://www.theleap.co/blog/youtube-shorts-seo/
- https://backlinko.com/how-to-rank-youtube-videos?utm_source=chatgpt.com